นอนได้ แต่เป็นอาบัติและพรรษาขาด ทำให้พระรูปนั้นไม่ได้อานิสงส์พรรษาและรับกฐินไม่ได้ (แต่ “ไม่เกี่ยวกับ” การนับปี (พรรษา) ที่บวช คือนับเพิ่มขึ้นได้แม้พรรษาขาด)

แม้มิได้นอนค้างที่โรงพยาบาล เพียงแค่ไปตรวจรักษาแล้วกลับวัดในวันนั้น แต่หากออกจากวัดก่อนอรุณขึ้น (ท้องฟ้ายังไม่สว่าง) ก็ถือว่าพรรษาขาด/เป็นอาบัติเช่นกัน

แม้พระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุเดินทางไปทำกิจและค้างแรมนอกวัดได้ไม่เกิน ๗ คืน ในช่วงพรรษา ที่เรียกว่า “สัตตาหกรณียะ” แต่ก็ได้ระบุกิจที่พระจะสามารถไปได้ไว้ค่อนข้างชัด ซึ่งล้วนแต่เป็นกิจที่ไปเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น เช่น ไปดูแลภิกษุอาพาธ ไปเยี่ยมบิดา-มารดาที่ป่วย ไปช่วยซ่อมเสนาสนะวัดอื่นที่ชำรุด หรือมีญาติโยมนิมนต์ไปด้วยศรัทธา แต่ไม่มีพุทธานุญาตให้ไปทำกิจส่วนตัว เช่น ไปเรียนหนังสือ หรือไปโรงพยาบาลรักษาตัว

แต่หากมีเหตุร้ายเกิดขึ้นในอาวาสที่จำพรรษา เช่น เกิดภัยธรรมชาติ โรคระบาด ขาดแคลนอาหาร ท่านให้ไปจากอาวาสนั้นได้โดยไม่อาบัติ แต่พรรษาขาด